วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 9 เรื่องที่ 1 คุณสมบัติของความรู้



1. มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี และถูกต้อง 
เพราะการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาโดยไม่มีพื้นความรู้ที่แท้จริงนั้นจะส่งผลให้การให้คำปรึกษาดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องตามหลักการซึ่งอาจก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้รับคำปรึกษาได้

2. มีความรู้พระคัมภีร์ดี และหลักศาสนาศาตร์ที่ถูกต้อง 
การให้คำปรึกษาเป็นงานหนึ่งของพระวิญญาณบริสุทธิ์และพระองค์ทรงทำพันธกิจนี้ร่วมกับพระวจนะของพระเจ้า เราจึงต้องดำเนินการตามพระคำของพระองค์

3. มีความรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยาดี 
เช่น จิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาพัฒนาการ เป็นต้น เพื่อมีความเข้าใจในตนเอง และพฤติกรรมของตน และความเข้าใจผู้อื่นและพฤติกรรมของเขาและมีวิจารณณญาณและการตัดสินใจที่ถูกต้อง

4. มีความรู้พื้นฐานในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เช่น กฎหมายเบื้องต้น ฯลฯ
การให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาหลุดจากปัญหาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของจิตใจเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความพลาดพลั้งเข้าใจผิดเพราะการรู้เท่าไม่ถึงการ การมีความรู้พื้นฐานในเรื่องอื่นๆ จะช่วยผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยผู้รับคำปรึกษาได้

5. มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ 
การเป็นผู้มีประสบการณ์มาก และหลายๆประเภท จะสามารถนำมาช่วยผู้รับคำปรึกษา ซึ่งมีปัญหาหลากหลายชนิดแตกต่างกัน

6. มีความสามารถในการรู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง
เพราะการที่จะเข้าใจพฤติกรรมของคนอื่นต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจตนเองก่อน เช่นเดียวกับผู้ที่ช่วยคนตกน้ำ ตนเองต้องว่ายน้ำเป็นเสียก่อน

7. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง
มีจิตใจที่หนักแน่น ไม่อยู่ในภาวะที่เปราะบาง อ่อนไหวหรือแตกหักง่าย เมื่อได้รับการกระทบกระเทือน เพียงเล็กน้อย

8. มีความสามารถในการเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
มีความนับถือในตัวบุคคลอื่นและความเป็นปุถุชนของผู้รับคำปรึกษา


9. มีความสามารถในการยืดหยุ่น และคล่องตัวในทุกสถานการณ์
ไม่ยึด หลักการหรือทัศนะใดโดยเฉพาะ แต่เข้าใจความจริงว่าหลักการให้คำปรึกษานั้นไม่มีวิธีการใดดีหรือถูกต้องที่สุดเนื่องจากวิธีการหนึ่งอาจใช้ได้กับ บุคคลหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่กับอีกคนหนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้เลย

10. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่น และจริงใจต่อบุคคลอื่นได้ดี ตลอดจนมีความไวต่อพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนของผู้รับคำปรึกษา

11. มีความอดทนและมีอารมณ์ขัน
มีความอดทนทั้งต่อความกดดันที่เกิดขึ้นจากงานที่ทำและจากความหยาบกระด้างหรือความไม่สุภาพของผู้รับคำปรึกษาบางคน

12. มีความสนใจคน
ให้ความสนใจในตัวบุคคลและความรู้สึกของผู้มารับคำปรึกษาและให้ความสนใจในผลประโยฃน์ของผู้มารับคำปรึกษามากกว่าสิ่งอื่น

13. มีความรับผิดชอบสูง
และต้องมีความเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี

ที่มา  http://jaisamarn.org/1/learn/default.asp?s_learntype=&s_learnno=135&PageNo=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น