วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 12 เรื่องที่ 2 มาตรการควบคุม


มาตรการควบคุม...


ขีดจำกัดความเร็ว (SPEED LIMIT)...
ในระดับสากล ขีดจำกัดความเร็ว( Speed limit) เป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกสำหรับมาตรการเพื่อให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับขี่อย่างปลอดภัย โดยขีดจำกัดความเร็ว จะถูกตั้งขึ้นเพื่อควบคุมความเร็วของยานพาหนะ ให้เหมาะสมกับประเภทของถนนและประเภทของยานพาหนะ




จำกัดความเร็วเพื่ออะไร ถนนสร้างมาให้รถวิ่งเร็วมิใช่หรือ...?

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าถนนสร้างมาเพียงเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางเท่านั้น แท้จริงแล้ว ถนนมีหลายประเภท และถูกสร้างมาให้ทำหน้าที่สองประการ

หนึ่ง คือ การให้ความสามารถในการเคลื่อนที่
สอง คือ การให้ความสามารถในการเข้าออกพื้นที่ข้างทาง






ถนนแต่ละประเภทควรให้บริการตามหน้าที่หลักของตนอย่างเหมาะสม โดย
ถนนสายหลักควรให้ความสำคัญกับความสามารถในการเคลื่อนที่ ให้รถที่เดินทางไกลสามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ดังนั้นจะต้องมีการจำกัดตำแหน่งเชื่อมต่อและเข้าออกพื้นที่ข้างทาง เพื่อลดการตัดกระแสจราจร นั่นคือ ไม่สามารถเน้นความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ข้างทางกับถนนสายนี้ได้


ในขณะที่ถนนสายท้องถิ่นซึ่งเป็นถนนสายย่อย สายสั้นๆ ในเขตที่พักอาศัย ควรทำหน้าที่ให้บริการการเข้าออกพื้นที่ ในขณะที่ยังคงรักษาความปลอดภัย และความรื่นรมย์ของบริเวณที่พักอาศัย ดังนั้น เราไม่ต้องการให้รถ ใช้ถนนสายท้องถิ่นด้วยความเร็วสูง นั่นคือ ไม่สามารถเน้นความสามารถในการเคลื่อนที่กับถนนสายนี้ได้




เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าเราใช้ถนนผิดหน้าที่ผิดประเภท เช่น

ให้ถนนสายหลักซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดแดงใหญ่ ที่พาเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีแรงดันเลือดต่ำๆ(ความเร็วต่ำ) แถมยังมีรูรั่วออกตามสองข้างทาง(ขาดการควบคุมการเชื่อมต่อพื้นที่ข้างทาง) เราคงไม่มีเลือดเพียงพอไปเลี้ยงสมองได้




ในทางกลับกัน หากเราปล่อยให้ถนนสายท้องถิ่น รถวิ่งผ่านได้ด้วยความเร็วสูงๆ ก็เปรียบ เสมือนเรายอมให้เส้นเลือดฝอยของเรามีแรงดันเลือดสูงๆ ซึ่งเส้นเลือดเล็กๆนั้นคงมีโอกาสแตก ทำให้ร่างกายเราเจ็บป่วยได้






“เราคงไม่อยากให้ถนนหน้าบ้านในย่านที่พักอาศัย อยู่ในสภาพของเส้นเลือดฝอยในสมองที่รอวันแตก”


ในพื้นที่ หนึ่งๆ การจะให้ถนน สามารถทำหน้าที่ของมันได้ทั้งสองอย่าง คือสามารถให้ความสามารถในการเคลื่อนที่และความสามารถในการเข้าออกพื้นที่ข้างทาง
ต้องใช้ถนนหลายๆประเภท ประกอบกันเป็นโครงข่ายถนนที่สมบูรณ์ เพื่อให้ถนนแต่ละสายสามารถให้บริการตามหน้าที่ที่เหมาะสม

ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องให้รถวิ่งได้เร็วบนถนนทุกสาย การเลือกใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับประเภทและหน้าที่ของถนนเป็นสิ่งสำคัญและเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน หากต้องการลดการตายบนถนน





ขีดจำกัดความเร็วในต่างประเทศ
GRSP(2008) [1] รวบรวมค่าเฉลี่ยความเร็วที่ใช้ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ดังนี้


ขีดจำกัดความเร็วเฉลี่ยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (GRSP 2008)

ประเภทถนน
ขีดจำกัดความเร็ว

ถนนในเขตเมือง
30-50 กม./ชม.

ทางหลวงสายหลัก หรือ ทางในชนบท
70-100 กม./ชม.

มอเตอร์เวย์
90-130 กม./ชม.





ขีดจำกัดความเร็วในประเทศกำลังพัฒนา (GRSP 2008)



นอกเขตเมือง
เขตเมือง

อาร์เจนตินา
80-100
40-60

รัฐเกรละ (Kerala), อินเดีย
70
40

รัฐอุตตร(Uttar Pradesh), อินเดีย
ไม่กำหนด
ไม่กำหนด

กานา
90
50

อินโดนีเซีย
80-100
40-60

มาเลเซีย
90
50

เนปาล
ไม่กำหนด
ไม่กำหนด

เวียดนาม
40-60
30-40

ยูกันดา
100
65





หากเมื่อย้อนมองกฎหมายการควบคุมความเร็ว[2]ในบ้านเรา กลับพบว่า กฎหมายไทยกำหนดขีดจำกัดความเร็วในเขตเมืองที่ 80 กม./ชม. ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับขีดจำกัดความเร็วของประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ซึ่งมักกำหนดขีดจำกัดความเร็วในเขตเมืองเพียงแค่ 30-50 กม./ชม.


จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขการตายในเขตบนถนนในเขตเมืองจะสูงถึง 85 เปอร์เซ็นต์ของการตายทั้งหมดเลยทีเดียว

การเตือน





มาตรการการเตือนผู้ขับขี่จากบริเวณเสี่ยงอันตราย หรือบริเวณที่มีการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการขับขี่ ถูกใช้อย่างแพร่หลายมานานหลายสิบปี โดยทั่วไป มาตรการการเตือน เช่น ป้ายเตือน การทาสีบริเวณอันตรายการติดตั้งหลักนำทาง หรือเครื่องหมายนำทางบนพื้นทาง เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง


ปัจจุบัน มีการเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของอุปกรณ์การเตือนแบบเก่า ด้วย อุปกรณ์การเตือนแบบที่ “แอคทิฟ”มากขึ้น เช่น ป้ายที่มีไฟกระพริบ ป้ายที่แสดงข้อความเมื่อมีรถผ่าน สัญญาณไฟกระพริบ ไฟเตือนหรือสัญลักษณ์เตือนที่จะสว่างขึ้นเมื่อรถที่วิ่งเข้ามาขับเร็วเกินกำหนด

ป้ายเตือน... เตือนผู้ขับขี่ ให้ลดความเร็วเมื่อเข้าสู่ชุมชนข้างหน้า การเตือนด้วยป้าย สำคัญที่การบำรุงรักษา ให้สามารถใช้งานได้เสมอทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน










เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง...
อาจเป็นการขีดสีตีเส้น หรือลักษณะนูนขึ้นมาเป็นปุ่มเหมือนในภาพ เพื่อเตือนผู้ขับขี่ก่อนถึงทางแยก

















การเน้นวัตถุอันตราย...เพื่อเน้นวัตถุอันตรายข้างทางให้สามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด เช่น การติดตั้งบั้งสะท้อนแสงบริเวณต้นไม้ข้างทาง การเน้นต้นไม้ข้างทาง
















การนำทางบริเวณโค้งหักศอก...เช่นการใช้ปุ่มสะท้อนแสง หลักนำโค้ง หรือเครื่องหมายเชฟรอนนำโค้ง เพื่อสื่อสารลักษณะความโค้งของโค้งข้างหน้าให้ผู้ขับขี่สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน ทั้งในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน





การเตือนด้วยเสียงและแรงสั่นสะเทือน….เตือนผู้ขับขี่ถึงสภาพอันตรายข้างหน้าหรือ เตือนให้ทราบถีงสภาพถนนที่เปลี่ยนไปด้วย แรงสั่น สะเทือนและเสียง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อรถเคลื่อนที่ผ่านบริเวณพื้นที่ที่จงใจทำให้ไม่เรียบ เทคนิคดังกล่าว สามารถใช้เตือนผู้ขับขี่ในบริเวณทางเข้า( Gateways) เช่น บริเวณก่อนเข้าหมู่บ้าน (Village Gateway) หรือบริเวณก่อนเข้าทางแยก(intersection approach) เทคนิคการทำผิวให้ไม่เรียบ สามารถขุดถนนเป็นร่องเล็กๆ (Grooves cut) หรือ ทำเป็นแถบนูนยาวๆ (raised strips) ในแนวขวางทิศทางการเดินรถ ตลอดแนวความกว้างของถนน และทาสีให้สามารถเห็นได้ชัดเจน




Passive Perceptual Countermeasures… เป็นมาตรการลดความเร็วที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มการสื่อสารกับผู้ขับขี่ถึงความเร็วที่ควรจะใช้ เพื่อให้ผู้ขับขี่ ลดความเร็วลง หรือใช้ความเร็วที่เหมาะสม เทคนิคที่ใช้เช่น การเพิ่มสิ่งเร้าสายตาใกล้ขอบถนน หรือเพิ่มความถี่ของเส้นขวางถนนซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกว่าขับเร็วกว่าความเร็วที่แท้จริง เป็นต้น




- เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง ทำให้ทางข้างหน้าเหมือนแคบลง











- การตีเส้น Speed bars ทำให้ทางข้างหน้าดูเหมือนแคบลง ขณะเดียวกัน จะทำให้คนขับเกิดความรู้สึกว่าขับเร็วกว่าความเร็วที่ใช้อยู่จริง เมี่อวิ่งผ่านเส้น speed bars








- การเพิ่มสิ่งเร้าตาข้างถนนในประเทศจีน-ทำให้มองดูเหมือนมีสิ่งกีดขวางข้างทาง







- การทาสีเตือนบริเวณอันตราย-สร้างความรู้สึกถึงบริเวณอันตรายด้วยการทาสีบนถนน






ปากทางเข้า
หมายถึง การจัดบริเวณทางเข้าเพื่อลดความเร็วของกระแสจราจรในบริเวณทางเข้าเมืองหรือชุมชน
การจัดบริเวณทางเข้าดังกล่าว อาจเป็นเพียงการปักป้ายหรือทาสีถนนบริเวณทางเข้า (Visual treatments) หรือการจัดบริเวณทางเข้าในลักษณะการสร้างสิ่งกีดขวางบนถนน (Physical restrictions) หรือในลักษณะผสม ตัวอย่างการให้สัญลักษณ์บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านในประเทศอังกฤษ[3] ซึ่งมีการติดป้ายขีดจำกัดความเร็ว จัดทำเกาะกลาง และมีการวางแนวคันหินให้ถนนแคบลง



ตัวอย่าง การจัดทำปากทางเข้าชุมชนในประเทศอังกฤษ[4]โดยมีการติดตั้งป้ายขีดจำกัดความเร็ว ด้วยการทาสีลักษณะฟันปลาฉลามบนถนน เพื่อให้ดูเหมือนทางแคบลง






เนินชะลอความเร็ว
ชนิดของเนินชะลอความเร็ว หนึ่งในมาตรการการสยบ/ยับยั้ง การจราจรที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ใช้ในถนนสายท้องถิ่น (ปริมาณจราจรน้อยกว่า 500 คันต่อวัน) เป็นพื้นที่ผิวจราจรที่ยกสูงขึ้นโดยใช้ติดตั้งขวางทิศทางการจราจร ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนจากลูกระนาดชะลอความเร็วหรือลูกเนินกระโดด (Speed Bump) ที่มีความยาวสั้น ๆ โดยมากพบเนิน 3 ชนิด คือ


เนินหลังกลม[5]

· หลังเนินอาจมีรูปร่างต่างกันออกไป เช่น รูปโค้งพาราโบล่า โค้งวงกลม โค้งรูปซายน์

· ความยาวของเนินมาตรฐาน 3.7 เมตร สูง 75 mm-100 mm
· สำหรับเนินสูง 75mm ความเร็วเฉลี่ย 24 km/hr และความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์ 31 km/hr
· สำหรับเนินสูง 100 mm ความเร็วเฉลี่ย 22 km/hr










ขนาดมาตรฐานของเนินหลังกลมแบบวัตต์


เนินหลังแบน



ผิวบนของเนินแบนราบ นอกจากชะลอความเร็วของรถแล้ว ยังสามารถใช้เป็นทางข้าม
ความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์เมื่อผ่านเนินหลังแบนมีค่าประมาณ 22 km/hr สำหรับเนิน สูง 7.5ซม.
สำหรับเนินสูง 7.5 ซม. ควรมีความชัน 1:5หรือมากกว่า เพื่อควบคุมความเร็วเฉลี่ยให้ต่ำกว่า26 km/hr
ความกว้างของหลังเนิน ไม่มีผลต่อความเร็วเท่าไรนัก แต่จะมีผลต่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของคนเดินข้ามถนน





ขนาดมาตรฐานและป้ายและเครื่องหมายจราจรของเนินหลังแบนแบบ Wombat crossing[6]


Speed cushions[7]
คือเนินชะลอความเร็วที่ไม่คลอบคลุมตลอดความกว้างของช่องจราจร ดังนั้น รถขนาดใหญ่สามารถ




กว้างของช่องจราจร ดังนั้น รถขนาดใหญ่สามารถผ่านเนินลักษณะนี้โดยที่หนึ่งล้อจะไม่ต้องเหยียบผ่านเนิน ความเร็วของรถเมื่อผ่าน Speed cushions จะลดลงเมื่อเพิ่มขนาดความกว้างของเนิน โดยเมื่อเนินมีความกว้างเหมาะสมสำหรับรถประจำทางแล่นผ่าน ความเร็วเฉลี่ยของรถที่ผ่านเนินจะมีค่าประมาณ 30 km/hr















“หากเอามาใช้ในบ้านเรา ช่องว่างระหว่างเนินคงถูกใช้เป็นเส้นทางหลบหลีกของรถจักรยานยนต์”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น