วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 12 เรื่องที่ 3 มาตรการความปลอดภัย

แนวทาง/กรอบ/คู่มือการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

มีนาคม 21, 2009
ครั้งก่อนผมได้พูดถึงกรอบของการบริหารความเสี่ยงในภาพโดยรวม และยังเคยกล่าวถึงประเภทของความเสี่ยงให้พอได้ทราบกันมาบ้างแล้ว ครั้งนี้เรามาดูกันต่อว่าความเสี่ยงทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวถึงนั้นมีอะไรบ้าง และความเสี่ยงต่าง ๆ นั้นมีแหล่งที่มาเกิดจากอะไร ซึ่งในที่นี้ผมจะขอเน้นเฉพาะความเสี่ยงทางด้านปฏิบัติการที่เกิดขึ้นกับองค์กรโดยส่วนใหญ่ เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางในการระบุความเสี่ยง และจัดการกับความเสี่ยง ซึ่งผมจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในคราวต่อ ๆ ไป
ความเสี่ยงของทุกองค์กร อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)
3. ความเสี่ยงด้านการเงินและการรายงาน (Financial & Reporting Risk)
4. ความเสี่ยงด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ (Compliance Risk)
ความเสี่ยงส่วนใหญ่ขององค์กรทั่วไป จะเป็นความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งหากดูจากแผนภาพด้านล่างก็คงจะพอเข้าใจภาพของ Operational Risk ได้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่จะได้กล่าวถึงรายละเอียดกันต่อ
Operational Risk Business Objectives
Operational Risk Business Objectives
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดการกํากับดูแลกิจการที่ดี หรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กร และการขาดการควบคุมที่ดี โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานภายใน คน ระบบงาน หรือเหตุการณ์ภายนอก และส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนขององค์กร
แหล่งที่มาของความเสี่ยง 
เหตุแห่งความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อม เนื่องจากการขาดระบบงาน การขาดการควบคุมที่ดี การจัดการภายในล้มเหลวจนทำให้เกิดความสูญเสีย และความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. ความเสี่ยงที่เกิดจากบุคลากร (People Risk) ได้แก่
• ความด้อยศักยภาพของพนักงาน
– การขาดความรู้ความชำนาญในงานที่รับผิดชอบ
– การขาดความสามารถในการทำงานเป็นทีม
– การละเลยไม่ให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้า
– การขาดการทำงานแบบมืออาชีพ
– การขาดความสามารถในการวิเคราะห์หรือใช้วิจารณญานในการตัดสินใจ
– การตีความข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานผิดพลาด
• การทุจริต
– การทุจริตหรือกระทำผิดจรรยาบรรณ
– การใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
• ความผิดพลาดของพนักงาน (Human Error)
– ความผิดพลาดของพนักงานในการปฏิบัติงาน โดยมิได้มีเจตนาจะกระทำผิดหรือทุจริต
– ความประมาท เลินเล่อ หรือไม่รอบคอบ
• การบริหารและการจัดการบุคลากร
– การบริหารทรัพยากรบุคคลไม่เหมาะสม เช่น การมีพนักงานมาก-น้อยเกินไป
– การด้อยประสิทธิภาพในการสรรหา
– การมอบหมายงานไม่ตรงตามความสามารถ
– การขาดการอบรมให้พนักงานมีความเชี่ยวชาญหรือเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน
– การขาดเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่มีความสามารถให้คงอยู่กับองค์กร
– การประเมินผลงานที่ไม่ยุติธรรม
– ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม
– การพึ่งพิงกับพนักงานหลักมากเกินไป
• การบริหารทรัพยากรขององค์กร 
– การบริหารทรัพยากรขององค์กรไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีอุปกรณ์ที่ให้ความสะดวกหรือมีไม่เพียงพอต่อความจำเป็นในการปฏิบัติงาน
– อุปกรณ์ไม่อยู่ในสภาพที่ดีต่อการใช้งาน
– การมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับงานหรือล้าสมัย
2. ความเสี่ยงที่เกิดจากกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(Process Risk)

• ความบกพร่องของการบริหารองค์กรที่ได้คุณภาพ (Model / Methodology Error)
– ความบกพร่องของการวางแผนการใช้โปรแกรมเพื่อการบริหารและการจัดการแบบบูรณาการ (Plan – Do – Check – Act)
– ความผิดพลาดในการพัฒนากำหนดสูตรการคำนวณต่าง ๆ เช่น การกำหนดน้ำหนักของกลยุทธ์ พันธกิจ แผนงานและโครงการต่าง ๆ ของ องค์กรในการก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด ในกรณีที่เป็นสถาบันการเงินก็จะเป็นความผิดพลาดจากการกำหนดอัตราส่วนทางการเงิน การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์/ทรัพย์สิน/หนี้สิน และการประเมินมูลค่าหลักประกันผิดพลาด
– ข้อบกพร่องของวิธีการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
– การรายงานผลต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง และขาดการติดตาม
• ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ไม่เหมาะสม 
– การกำหนดน้ำหนักของงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนงานของการบรรลุเป้าหมายที่ไม่สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ขององค์กร
– การออกแบบ/พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการไม่สอดคล้องกับทิศทางของพันธกิจและวิสัยทัศน์
– ผลิตภัณฑ์/บริการมีความซับซ้อนหรือมีข้อบกพร่อง หรือไม่อาจวัดผลความสำเร็จที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ทำให้ผู้มีผลประโยชน์ร่วมไม่พึงพอใจ
• การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ของผู้กำกับ 
– เกิดจากการกำกับดูแลและกฎระเบียบที่องค์กรเผชิญอยู่ หากองค์กรวางแผนการปฏิบัติต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของทางการ หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล
– ความเสี่ยงจากการตีความข้อกฎหมาย ที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร
• การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ (Communication)
– การเข้าใจไม่ตรงกันในการสื่อข้อความทำให้ตีความผิดพลาด
– การสื่อสารที่ไม่ทั่วถึงทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง
– การขาดการประสานงาน/ร่วมมือที่ดีระหว่างฝ่ายงาน
– ข้อมูลที่เผยแพร่ภายนอกองค์กรไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกันก่อให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะกรณีที่มีการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง
• ระบบงานขาดมาตรฐานและการควบคุมที่ดี
– การขาดมาตรฐาน/คู่มือ/แนวทางและรายละเอียดในการปฏิบัติงาน
– การขาดระบบการตรวจสอบ/การควบคุม/การรักษาความปลอดภัยที่ดีหรือมีไม่เพียงพอ
3. ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี (Technology Risk)
• การรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ดี 
– การขาดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการสำรองข้อมูล หรือมีแต่ด้อยประสิทธิภาพ
– การขาดมาตรการควบคุมและตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ
– การขาดแผนสำรองฉุกเฉิน
• ระบบงานมีข้อผิดพลาดหรือล้มเหลว 
– ความผิดพลาด/ความสูญเสียของระบบ เนื่องจากอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ
– ปัญหาด้านเทคนิค กระแสไฟฟ้าขัดข้อง
– ระบบสูญเสียความสามารถบางส่วน/ทั้งหมด จากการทำลายของไวรัสคอมพิวเตอร์
• ความบกพร่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
– ความผิดพลาด/ไม่สมบูรณ์ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้
• ความบกพร่องของระบบการสื่อสาร 
– การขัดข้องของระบบการสื่อสาร เช่น Computer Network , โทรศัพท์ , โทรสาร
• สารสนเทศที่ใช้ในการบริหารและปฏิบัติงานไม่น่าเชื่อถือ 
– ข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง
– ระบบข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้
– การมีหลายระบบที่แสดงข้อมูลในลักษณะเดียวกัน แต่แสดงข้อมูลไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงกัน
4. ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ภายนอก (External Risk)
– ความไม่แน่นอนของนโยบายของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– การสูญเสียที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินหรือรายได้อันเนื่องมาจากอุบัติภัยต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด เช่นไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว
– ความเสียหายจากการที่คู่ค้าหรือคู่สัญญาขององค์กรไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงหรือปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับองค์กรได้
– ความเสียหายจากการที่คู่ค้าหรือคู่สัญญาขององค์กร ใช้องค์กรเป็นเครื่องมือในการฟอกเงินและกระทำผิดกฎหมาย
– การขาดแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
– ไม่มีการทำประกันภัย ในธุรกรรมใด ๆ ที่มีความเสี่ยง

แนวทาง/กรอบ/คู่มือการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

มีนาคม 21, 2009
ครั้งก่อนผมได้พูดถึงกรอบของการบริหารความเสี่ยงในภาพโดยรวม และยังเคยกล่าวถึงประเภทของความเสี่ยงให้พอได้ทราบกันมาบ้างแล้ว ครั้งนี้เรามาดูกันต่อว่าความเสี่ยงทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวถึงนั้นมีอะไรบ้าง และความเสี่ยงต่าง ๆ นั้นมีแหล่งที่มาเกิดจากอะไร ซึ่งในที่นี้ผมจะขอเน้นเฉพาะความเสี่ยงทางด้านปฏิบัติการที่เกิดขึ้นกับองค์กรโดยส่วนใหญ่ เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางในการระบุความเสี่ยง และจัดการกับความเสี่ยง ซึ่งผมจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในคราวต่อ ๆ ไป
ความเสี่ยงของทุกองค์กร อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)
3. ความเสี่ยงด้านการเงินและการรายงาน (Financial & Reporting Risk)
4. ความเสี่ยงด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ (Compliance Risk)
ความเสี่ยงส่วนใหญ่ขององค์กรทั่วไป จะเป็นความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งหากดูจากแผนภาพด้านล่างก็คงจะพอเข้าใจภาพของ Operational Risk ได้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่จะได้กล่าวถึงรายละเอียดกันต่อ
Operational Risk Business Objectives
Operational Risk Business Objectives
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดการกํากับดูแลกิจการที่ดี หรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กร และการขาดการควบคุมที่ดี โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานภายใน คน ระบบงาน หรือเหตุการณ์ภายนอก และส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนขององค์กร
แหล่งที่มาของความเสี่ยง 
เหตุแห่งความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อม เนื่องจากการขาดระบบงาน การขาดการควบคุมที่ดี การจัดการภายในล้มเหลวจนทำให้เกิดความสูญเสีย และความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. ความเสี่ยงที่เกิดจากบุคลากร (People Risk) ได้แก่
• ความด้อยศักยภาพของพนักงาน
– การขาดความรู้ความชำนาญในงานที่รับผิดชอบ
– การขาดความสามารถในการทำงานเป็นทีม
– การละเลยไม่ให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้า
– การขาดการทำงานแบบมืออาชีพ
– การขาดความสามารถในการวิเคราะห์หรือใช้วิจารณญานในการตัดสินใจ
– การตีความข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานผิดพลาด
• การทุจริต
– การทุจริตหรือกระทำผิดจรรยาบรรณ
– การใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
• ความผิดพลาดของพนักงาน (Human Error)
– ความผิดพลาดของพนักงานในการปฏิบัติงาน โดยมิได้มีเจตนาจะกระทำผิดหรือทุจริต
– ความประมาท เลินเล่อ หรือไม่รอบคอบ
• การบริหารและการจัดการบุคลากร
– การบริหารทรัพยากรบุคคลไม่เหมาะสม เช่น การมีพนักงานมาก-น้อยเกินไป
– การด้อยประสิทธิภาพในการสรรหา
– การมอบหมายงานไม่ตรงตามความสามารถ
– การขาดการอบรมให้พนักงานมีความเชี่ยวชาญหรือเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน
– การขาดเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่มีความสามารถให้คงอยู่กับองค์กร
– การประเมินผลงานที่ไม่ยุติธรรม
– ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม
– การพึ่งพิงกับพนักงานหลักมากเกินไป
• การบริหารทรัพยากรขององค์กร 
– การบริหารทรัพยากรขององค์กรไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีอุปกรณ์ที่ให้ความสะดวกหรือมีไม่เพียงพอต่อความจำเป็นในการปฏิบัติงาน
– อุปกรณ์ไม่อยู่ในสภาพที่ดีต่อการใช้งาน
– การมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับงานหรือล้าสมัย
2. ความเสี่ยงที่เกิดจากกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(Process Risk)

• ความบกพร่องของการบริหารองค์กรที่ได้คุณภาพ (Model / Methodology Error)
– ความบกพร่องของการวางแผนการใช้โปรแกรมเพื่อการบริหารและการจัดการแบบบูรณาการ (Plan – Do – Check – Act)
– ความผิดพลาดในการพัฒนากำหนดสูตรการคำนวณต่าง ๆ เช่น การกำหนดน้ำหนักของกลยุทธ์ พันธกิจ แผนงานและโครงการต่าง ๆ ของ องค์กรในการก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด ในกรณีที่เป็นสถาบันการเงินก็จะเป็นความผิดพลาดจากการกำหนดอัตราส่วนทางการเงิน การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์/ทรัพย์สิน/หนี้สิน และการประเมินมูลค่าหลักประกันผิดพลาด
– ข้อบกพร่องของวิธีการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
– การรายงานผลต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง และขาดการติดตาม
• ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ไม่เหมาะสม 
– การกำหนดน้ำหนักของงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนงานของการบรรลุเป้าหมายที่ไม่สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ขององค์กร
– การออกแบบ/พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการไม่สอดคล้องกับทิศทางของพันธกิจและวิสัยทัศน์
– ผลิตภัณฑ์/บริการมีความซับซ้อนหรือมีข้อบกพร่อง หรือไม่อาจวัดผลความสำเร็จที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ทำให้ผู้มีผลประโยชน์ร่วมไม่พึงพอใจ
• การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ของผู้กำกับ 
– เกิดจากการกำกับดูแลและกฎระเบียบที่องค์กรเผชิญอยู่ หากองค์กรวางแผนการปฏิบัติต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของทางการ หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล
– ความเสี่ยงจากการตีความข้อกฎหมาย ที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร
• การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ (Communication)
– การเข้าใจไม่ตรงกันในการสื่อข้อความทำให้ตีความผิดพลาด
– การสื่อสารที่ไม่ทั่วถึงทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง
– การขาดการประสานงาน/ร่วมมือที่ดีระหว่างฝ่ายงาน
– ข้อมูลที่เผยแพร่ภายนอกองค์กรไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกันก่อให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะกรณีที่มีการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง
• ระบบงานขาดมาตรฐานและการควบคุมที่ดี
– การขาดมาตรฐาน/คู่มือ/แนวทางและรายละเอียดในการปฏิบัติงาน
– การขาดระบบการตรวจสอบ/การควบคุม/การรักษาความปลอดภัยที่ดีหรือมีไม่เพียงพอ
3. ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี (Technology Risk)
• การรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ดี 
– การขาดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการสำรองข้อมูล หรือมีแต่ด้อยประสิทธิภาพ
– การขาดมาตรการควบคุมและตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ
– การขาดแผนสำรองฉุกเฉิน
• ระบบงานมีข้อผิดพลาดหรือล้มเหลว 
– ความผิดพลาด/ความสูญเสียของระบบ เนื่องจากอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ
– ปัญหาด้านเทคนิค กระแสไฟฟ้าขัดข้อง
– ระบบสูญเสียความสามารถบางส่วน/ทั้งหมด จากการทำลายของไวรัสคอมพิวเตอร์
• ความบกพร่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
– ความผิดพลาด/ไม่สมบูรณ์ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้
• ความบกพร่องของระบบการสื่อสาร 
– การขัดข้องของระบบการสื่อสาร เช่น Computer Network , โทรศัพท์ , โทรสาร
• สารสนเทศที่ใช้ในการบริหารและปฏิบัติงานไม่น่าเชื่อถือ 
– ข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง
– ระบบข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้
– การมีหลายระบบที่แสดงข้อมูลในลักษณะเดียวกัน แต่แสดงข้อมูลไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงกัน
4. ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ภายนอก (External Risk)
– ความไม่แน่นอนของนโยบายของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– การสูญเสียที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินหรือรายได้อันเนื่องมาจากอุบัติภัยต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด เช่นไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว
– ความเสียหายจากการที่คู่ค้าหรือคู่สัญญาขององค์กรไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงหรือปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับองค์กรได้
– ความเสียหายจากการที่คู่ค้าหรือคู่สัญญาขององค์กร ใช้องค์กรเป็นเครื่องมือในการฟอกเงินและกระทำผิดกฎหมาย
– การขาดแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
– ไม่มีการทำประกันภัย ในธุรกรรมใด ๆ ที่มีความเสี่ยง

ที่มา  https://itgthailand.wordpress.com/tag/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2/

บทที่ 12 เรื่องที่ 2 มาตรการควบคุม


มาตรการควบคุม...


ขีดจำกัดความเร็ว (SPEED LIMIT)...
ในระดับสากล ขีดจำกัดความเร็ว( Speed limit) เป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกสำหรับมาตรการเพื่อให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับขี่อย่างปลอดภัย โดยขีดจำกัดความเร็ว จะถูกตั้งขึ้นเพื่อควบคุมความเร็วของยานพาหนะ ให้เหมาะสมกับประเภทของถนนและประเภทของยานพาหนะ




จำกัดความเร็วเพื่ออะไร ถนนสร้างมาให้รถวิ่งเร็วมิใช่หรือ...?

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าถนนสร้างมาเพียงเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางเท่านั้น แท้จริงแล้ว ถนนมีหลายประเภท และถูกสร้างมาให้ทำหน้าที่สองประการ

หนึ่ง คือ การให้ความสามารถในการเคลื่อนที่
สอง คือ การให้ความสามารถในการเข้าออกพื้นที่ข้างทาง






ถนนแต่ละประเภทควรให้บริการตามหน้าที่หลักของตนอย่างเหมาะสม โดย
ถนนสายหลักควรให้ความสำคัญกับความสามารถในการเคลื่อนที่ ให้รถที่เดินทางไกลสามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ดังนั้นจะต้องมีการจำกัดตำแหน่งเชื่อมต่อและเข้าออกพื้นที่ข้างทาง เพื่อลดการตัดกระแสจราจร นั่นคือ ไม่สามารถเน้นความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ข้างทางกับถนนสายนี้ได้


ในขณะที่ถนนสายท้องถิ่นซึ่งเป็นถนนสายย่อย สายสั้นๆ ในเขตที่พักอาศัย ควรทำหน้าที่ให้บริการการเข้าออกพื้นที่ ในขณะที่ยังคงรักษาความปลอดภัย และความรื่นรมย์ของบริเวณที่พักอาศัย ดังนั้น เราไม่ต้องการให้รถ ใช้ถนนสายท้องถิ่นด้วยความเร็วสูง นั่นคือ ไม่สามารถเน้นความสามารถในการเคลื่อนที่กับถนนสายนี้ได้




เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าเราใช้ถนนผิดหน้าที่ผิดประเภท เช่น

ให้ถนนสายหลักซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดแดงใหญ่ ที่พาเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีแรงดันเลือดต่ำๆ(ความเร็วต่ำ) แถมยังมีรูรั่วออกตามสองข้างทาง(ขาดการควบคุมการเชื่อมต่อพื้นที่ข้างทาง) เราคงไม่มีเลือดเพียงพอไปเลี้ยงสมองได้




ในทางกลับกัน หากเราปล่อยให้ถนนสายท้องถิ่น รถวิ่งผ่านได้ด้วยความเร็วสูงๆ ก็เปรียบ เสมือนเรายอมให้เส้นเลือดฝอยของเรามีแรงดันเลือดสูงๆ ซึ่งเส้นเลือดเล็กๆนั้นคงมีโอกาสแตก ทำให้ร่างกายเราเจ็บป่วยได้






“เราคงไม่อยากให้ถนนหน้าบ้านในย่านที่พักอาศัย อยู่ในสภาพของเส้นเลือดฝอยในสมองที่รอวันแตก”


ในพื้นที่ หนึ่งๆ การจะให้ถนน สามารถทำหน้าที่ของมันได้ทั้งสองอย่าง คือสามารถให้ความสามารถในการเคลื่อนที่และความสามารถในการเข้าออกพื้นที่ข้างทาง
ต้องใช้ถนนหลายๆประเภท ประกอบกันเป็นโครงข่ายถนนที่สมบูรณ์ เพื่อให้ถนนแต่ละสายสามารถให้บริการตามหน้าที่ที่เหมาะสม

ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องให้รถวิ่งได้เร็วบนถนนทุกสาย การเลือกใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับประเภทและหน้าที่ของถนนเป็นสิ่งสำคัญและเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน หากต้องการลดการตายบนถนน





ขีดจำกัดความเร็วในต่างประเทศ
GRSP(2008) [1] รวบรวมค่าเฉลี่ยความเร็วที่ใช้ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ดังนี้


ขีดจำกัดความเร็วเฉลี่ยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (GRSP 2008)

ประเภทถนน
ขีดจำกัดความเร็ว

ถนนในเขตเมือง
30-50 กม./ชม.

ทางหลวงสายหลัก หรือ ทางในชนบท
70-100 กม./ชม.

มอเตอร์เวย์
90-130 กม./ชม.





ขีดจำกัดความเร็วในประเทศกำลังพัฒนา (GRSP 2008)



นอกเขตเมือง
เขตเมือง

อาร์เจนตินา
80-100
40-60

รัฐเกรละ (Kerala), อินเดีย
70
40

รัฐอุตตร(Uttar Pradesh), อินเดีย
ไม่กำหนด
ไม่กำหนด

กานา
90
50

อินโดนีเซีย
80-100
40-60

มาเลเซีย
90
50

เนปาล
ไม่กำหนด
ไม่กำหนด

เวียดนาม
40-60
30-40

ยูกันดา
100
65





หากเมื่อย้อนมองกฎหมายการควบคุมความเร็ว[2]ในบ้านเรา กลับพบว่า กฎหมายไทยกำหนดขีดจำกัดความเร็วในเขตเมืองที่ 80 กม./ชม. ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับขีดจำกัดความเร็วของประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ซึ่งมักกำหนดขีดจำกัดความเร็วในเขตเมืองเพียงแค่ 30-50 กม./ชม.


จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขการตายในเขตบนถนนในเขตเมืองจะสูงถึง 85 เปอร์เซ็นต์ของการตายทั้งหมดเลยทีเดียว

การเตือน





มาตรการการเตือนผู้ขับขี่จากบริเวณเสี่ยงอันตราย หรือบริเวณที่มีการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการขับขี่ ถูกใช้อย่างแพร่หลายมานานหลายสิบปี โดยทั่วไป มาตรการการเตือน เช่น ป้ายเตือน การทาสีบริเวณอันตรายการติดตั้งหลักนำทาง หรือเครื่องหมายนำทางบนพื้นทาง เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง


ปัจจุบัน มีการเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของอุปกรณ์การเตือนแบบเก่า ด้วย อุปกรณ์การเตือนแบบที่ “แอคทิฟ”มากขึ้น เช่น ป้ายที่มีไฟกระพริบ ป้ายที่แสดงข้อความเมื่อมีรถผ่าน สัญญาณไฟกระพริบ ไฟเตือนหรือสัญลักษณ์เตือนที่จะสว่างขึ้นเมื่อรถที่วิ่งเข้ามาขับเร็วเกินกำหนด

ป้ายเตือน... เตือนผู้ขับขี่ ให้ลดความเร็วเมื่อเข้าสู่ชุมชนข้างหน้า การเตือนด้วยป้าย สำคัญที่การบำรุงรักษา ให้สามารถใช้งานได้เสมอทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน










เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง...
อาจเป็นการขีดสีตีเส้น หรือลักษณะนูนขึ้นมาเป็นปุ่มเหมือนในภาพ เพื่อเตือนผู้ขับขี่ก่อนถึงทางแยก

















การเน้นวัตถุอันตราย...เพื่อเน้นวัตถุอันตรายข้างทางให้สามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด เช่น การติดตั้งบั้งสะท้อนแสงบริเวณต้นไม้ข้างทาง การเน้นต้นไม้ข้างทาง
















การนำทางบริเวณโค้งหักศอก...เช่นการใช้ปุ่มสะท้อนแสง หลักนำโค้ง หรือเครื่องหมายเชฟรอนนำโค้ง เพื่อสื่อสารลักษณะความโค้งของโค้งข้างหน้าให้ผู้ขับขี่สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน ทั้งในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน





การเตือนด้วยเสียงและแรงสั่นสะเทือน….เตือนผู้ขับขี่ถึงสภาพอันตรายข้างหน้าหรือ เตือนให้ทราบถีงสภาพถนนที่เปลี่ยนไปด้วย แรงสั่น สะเทือนและเสียง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อรถเคลื่อนที่ผ่านบริเวณพื้นที่ที่จงใจทำให้ไม่เรียบ เทคนิคดังกล่าว สามารถใช้เตือนผู้ขับขี่ในบริเวณทางเข้า( Gateways) เช่น บริเวณก่อนเข้าหมู่บ้าน (Village Gateway) หรือบริเวณก่อนเข้าทางแยก(intersection approach) เทคนิคการทำผิวให้ไม่เรียบ สามารถขุดถนนเป็นร่องเล็กๆ (Grooves cut) หรือ ทำเป็นแถบนูนยาวๆ (raised strips) ในแนวขวางทิศทางการเดินรถ ตลอดแนวความกว้างของถนน และทาสีให้สามารถเห็นได้ชัดเจน




Passive Perceptual Countermeasures… เป็นมาตรการลดความเร็วที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มการสื่อสารกับผู้ขับขี่ถึงความเร็วที่ควรจะใช้ เพื่อให้ผู้ขับขี่ ลดความเร็วลง หรือใช้ความเร็วที่เหมาะสม เทคนิคที่ใช้เช่น การเพิ่มสิ่งเร้าสายตาใกล้ขอบถนน หรือเพิ่มความถี่ของเส้นขวางถนนซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกว่าขับเร็วกว่าความเร็วที่แท้จริง เป็นต้น




- เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง ทำให้ทางข้างหน้าเหมือนแคบลง











- การตีเส้น Speed bars ทำให้ทางข้างหน้าดูเหมือนแคบลง ขณะเดียวกัน จะทำให้คนขับเกิดความรู้สึกว่าขับเร็วกว่าความเร็วที่ใช้อยู่จริง เมี่อวิ่งผ่านเส้น speed bars








- การเพิ่มสิ่งเร้าตาข้างถนนในประเทศจีน-ทำให้มองดูเหมือนมีสิ่งกีดขวางข้างทาง







- การทาสีเตือนบริเวณอันตราย-สร้างความรู้สึกถึงบริเวณอันตรายด้วยการทาสีบนถนน






ปากทางเข้า
หมายถึง การจัดบริเวณทางเข้าเพื่อลดความเร็วของกระแสจราจรในบริเวณทางเข้าเมืองหรือชุมชน
การจัดบริเวณทางเข้าดังกล่าว อาจเป็นเพียงการปักป้ายหรือทาสีถนนบริเวณทางเข้า (Visual treatments) หรือการจัดบริเวณทางเข้าในลักษณะการสร้างสิ่งกีดขวางบนถนน (Physical restrictions) หรือในลักษณะผสม ตัวอย่างการให้สัญลักษณ์บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านในประเทศอังกฤษ[3] ซึ่งมีการติดป้ายขีดจำกัดความเร็ว จัดทำเกาะกลาง และมีการวางแนวคันหินให้ถนนแคบลง



ตัวอย่าง การจัดทำปากทางเข้าชุมชนในประเทศอังกฤษ[4]โดยมีการติดตั้งป้ายขีดจำกัดความเร็ว ด้วยการทาสีลักษณะฟันปลาฉลามบนถนน เพื่อให้ดูเหมือนทางแคบลง






เนินชะลอความเร็ว
ชนิดของเนินชะลอความเร็ว หนึ่งในมาตรการการสยบ/ยับยั้ง การจราจรที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ใช้ในถนนสายท้องถิ่น (ปริมาณจราจรน้อยกว่า 500 คันต่อวัน) เป็นพื้นที่ผิวจราจรที่ยกสูงขึ้นโดยใช้ติดตั้งขวางทิศทางการจราจร ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนจากลูกระนาดชะลอความเร็วหรือลูกเนินกระโดด (Speed Bump) ที่มีความยาวสั้น ๆ โดยมากพบเนิน 3 ชนิด คือ


เนินหลังกลม[5]

· หลังเนินอาจมีรูปร่างต่างกันออกไป เช่น รูปโค้งพาราโบล่า โค้งวงกลม โค้งรูปซายน์

· ความยาวของเนินมาตรฐาน 3.7 เมตร สูง 75 mm-100 mm
· สำหรับเนินสูง 75mm ความเร็วเฉลี่ย 24 km/hr และความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์ 31 km/hr
· สำหรับเนินสูง 100 mm ความเร็วเฉลี่ย 22 km/hr










ขนาดมาตรฐานของเนินหลังกลมแบบวัตต์


เนินหลังแบน



ผิวบนของเนินแบนราบ นอกจากชะลอความเร็วของรถแล้ว ยังสามารถใช้เป็นทางข้าม
ความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์เมื่อผ่านเนินหลังแบนมีค่าประมาณ 22 km/hr สำหรับเนิน สูง 7.5ซม.
สำหรับเนินสูง 7.5 ซม. ควรมีความชัน 1:5หรือมากกว่า เพื่อควบคุมความเร็วเฉลี่ยให้ต่ำกว่า26 km/hr
ความกว้างของหลังเนิน ไม่มีผลต่อความเร็วเท่าไรนัก แต่จะมีผลต่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของคนเดินข้ามถนน





ขนาดมาตรฐานและป้ายและเครื่องหมายจราจรของเนินหลังแบนแบบ Wombat crossing[6]


Speed cushions[7]
คือเนินชะลอความเร็วที่ไม่คลอบคลุมตลอดความกว้างของช่องจราจร ดังนั้น รถขนาดใหญ่สามารถ




กว้างของช่องจราจร ดังนั้น รถขนาดใหญ่สามารถผ่านเนินลักษณะนี้โดยที่หนึ่งล้อจะไม่ต้องเหยียบผ่านเนิน ความเร็วของรถเมื่อผ่าน Speed cushions จะลดลงเมื่อเพิ่มขนาดความกว้างของเนิน โดยเมื่อเนินมีความกว้างเหมาะสมสำหรับรถประจำทางแล่นผ่าน ความเร็วเฉลี่ยของรถที่ผ่านเนินจะมีค่าประมาณ 30 km/hr















“หากเอามาใช้ในบ้านเรา ช่องว่างระหว่างเนินคงถูกใช้เป็นเส้นทางหลบหลีกของรถจักรยานยนต์”

บทที่ 12 เรื่องที่ 1 ความเสี่ยงีท่มีต่อระบบสารสนเทศ



5.ความเสี่ยงด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ 
   หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับฐานข้อมูลต่างๆของระบบสารสนเทศภายในองค์กร อันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย ข้อมูลถูกทำลายความเสี่ยงจากผู้บุกรุกข้อมูล การโจรกรรมข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลผู้จัดจำหน่าย การลักลอบเข้ามาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาบริหารจัดการด้านข้อมูล ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริหาร ที่จะนำมาช่วยสำหรับการตัดสินใจและใช้สำหรับวางแผน ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระบบสารสนเทศ จากภัญต่างๆ ทั้งจากบุคคลภายใน บุคคลภายนอก ภัยจากธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ใดๆ ต้องมีการวิเคราะห์และป้องกันเพื่อให้เกิดความมั่นคงต่อระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี
การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ
   1.การรักษาความปลอดภัยข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย (Information and Network Security) เช่น การป้องกันการบุกรุกข้อมูลทางเครือข่าย การกำหนดรหัสผ่านของแต่ละบุคคลในการเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
   2.การยืนยันหรือพิสูจน์ตัวตน ในระบบสารสนเทศเพื่อการเข้าถึงสารสนเทศตามความเหมาะสมกับหน้าที่ เช่น การกำหนดรหัสผ่านของผู้ใช้งาน การจำกัดสิทธิ์การเข้าใช้งานสารสนเทศ การใช้การสแกนนิ้วมือ สแกนม่านตา เพื่อพิสูจน์ตัวตน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรที่จะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับองค์กร
   3.การดูแลและป้องกันการใช้งานสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกเพราะอาจจะควบคุมการรั่วไหลของข้อมูลสารสนเทศได้ยากและเสี่ยงกับไวรัสที่จะทำลายข้อมูลในระบบสารสนเทศอีกด้วย
   4.การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ และทดสอบการนำข้อมูลที่สำรองกลับมาใช้งานว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่
   5.มีการวางแผนการซ้อมกู้ระบบสม่ำเสมอ จำลองว่าเครื่องแม่ข่ายเสียโดยการเอาออกจากเครือข่าย เราจะทำการกู้ระบบโดยใช้ระบบเวลาเท่าใดสามารถนำข้อมูลกลับมาใช้งานได้หรือไม่ วิเคราะห์ออกมาว่าองค์กรจะสูญเสียเป็นมูลค่าเท่าใด
   6.การจัดทำแผนการสำรองและการกู้คืนระบบเป็นเอกสารให้ละเอียดเพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถมีแนวทางหรือวิธีการที่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน

6.ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
 (Strategic Risk)
   หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายองค์กร ของผู้บริหาร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายและผู้บริหารองค์กรต่างๆ ทำให้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เปลี่ยนแปลงไป
การบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
   โดยการสื่อสารนโยบายและผลักดันให้มีการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานทุกระดับอย่างทั่วถึง และมีการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและวางแผนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีการติดต่อสื่อสาร กับผู้บริหารและนำนโยบายมาสู่การวิเคราะห์เพื่อปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารห
7.ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)
   หมายถึง ความเสี่ยงต่อการได้รับการสนับสนุนงบประมาณไม่เพียงพอ และต่อการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ทันตามกำหนดเวลา หลายองค์กรมักจะพบปัญหาเหล่านี้ ซึ่งทำให้การพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กรในโครงการต่างๆไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ต้องมีการวางแผนเพื่อป้องกันความเสี่ยงดีให้รอบคอบซึ่งสำคัญไม่น้อยทีเดียว หากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเล็กๆก็อาจจะไม่เห็นภาพชัดเจน หากเป็นระบบสารสนเทศใหญ่ๆ เช่น ระบบ ERP หากไม่มีการวางแผนที่ดีจะทำให้งบประมาณบานปลายอันด้วยสาเหตุที่ตัว ระบบเองก็หลักล้าน อีกทั้งค่าอิมพลีเม็นท์ก็หลีกล้านอีกเช่นกัน
การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน
   1.จัดทำแผนบริหารจัดการการใช้จ่ายงบประมาณอย่างละเอียด และคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม
   2.จัดทำแผนการบริหารความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อัตราเงินที่ผันแปร ค่าอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มสูงขึ้น ไม่สามารถหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการได้ การเปลี่ยนแปลงของระบบปฏิบัติการที่ใหม่ขึ้นสามารถรองรับกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรหรือไม่ การจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นหรืออัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
   3.มีการติดตามการใช้งบประมาณรายจ่ายอย่างต่อเนื่อง หากผิดปกติจะได้แก้ไขและป้องกันผลกระทบต่างๆได้ทันท่วงที
   4.การนำเสนอสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของงบประมาณ หรือสาเหตุการล่าช้าในโครงการต่างๆในระบบทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายงบประมาณภายในโครงการต่างๆ หรือภายในองค์กรต่อปี หรือในการพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือการบำรุงรักษาด้านต่างๆของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดตั้งงบประมาณในโครงการต่อๆไป

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/338158

บทที่ 11 คำศัพท์พร้อมคำแปล

แผนการ                                                  Plan

การวางแผนองค์กร                                 Organizational Planning

การวางแผนกลยุทธ์                                Strategic Planning

การกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์             Tactical Planning

การวางแผนปฏิบัติการ                            Operational Planning

ขอบเขต                                                  Scope

แหล่งรายได้                                            Revenue Source

ราคา                                                        Pricing

ความสามารถ                                          Capabilities

ความยั่งยืน                                              Sustainability





บทที่ 11 เรื่องที่ 3 การวางแผนระบบสารสนเทศ

 

1.  กำหนดหน้าที่ภารกิจของหน่วยงานสารสนเทศ    เพื่อทำหน้าที่ในการวางแผนด้านระบบสารสนเทศ  คือหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร   
2.      ประเมินสภาวะแวดล้อม  เป็นการจำแนกว่ามีโอกาสหรือความเสี่ยงใด ๆ  จากการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
3.      กำหนดวัตถุประสงค์ด้านระบบสารสนเทศ  เป็นการระบุว่าระบบที่ได้คิดไว้จะให้อะไรต่อองค์กรได้บ้าง  โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรด้วย
4.      กำหนดแนวทางด้านกลยุทธ์อย่างกว้าง ๆ   ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้างต้น 
5.      กำหนดนโยบายด้านสารสนเทศ  กำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้  ซึ่งการกำหนดนโยบายจะต้องคำนึงถึงทรัพยากรและขีดจำกัดอื่น ๆ  ที่มีอยู่
6.      นำวัตถุประสงค์  กลยุทธ์  และนโยบายมาจัดทำเป็นแผนระยะยาวและระยะสั้น  เพื่อกำหนดทิศทางที่องค์กรจะดำเนินการหรือก้าวต่อไป 
7.      ทำแผนงานที่กำหนดเป็นรูปธรรมแล้วนำไปดำเนินการ    เมื่อแผนงานได้ทำเป็นรูปธรรมแล้วก็จะนำไปดำเนินการ
 การวางแผนระยะยาว
               เป็นแผนแม่บททางด้านสารสนเทศ  กำหนดระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี   โดยเนื้อหาของแผนระยะยาวจะต้องครอบคลุมรายละเอียดดังนี้
  • คำอธิบายวัตถุประสงค์
  • สภาพแวดล้อมระบบสารสนเทศในอนาคต
  • กลยุทธ์ต่าง ๆ  เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
  • แผนการพัฒนาระบบ  และระบบที่เป็นอยู่
  • แผนบุคลากร
  • แผนงบประมาณและค่าใช้จ่าย
  • แผนการจัดองค์การ
  • แผนการฝึกอบรม
  • แผนการจัดหาฮาร์ดแวร์
  • สรุปข้อเสนอแนะในการดำเนินการ
  • ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศ  และเป็นการเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ  ที่จำเป็นต้องใช้ในการนำระบบไปใช้
  • กำหนดขั้นตอนในการพัฒนาระบบให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด
  • เกิดการพัฒนาระบบแบบผสมผสานที่ต่อเนื่อง  และทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีข้อขัดแย้ง
  • ป้องกันไม่ให้แผนกต่าง ๆ  พัฒนาระบบขึ้นเองตามใจชอบ  เพราะจะทำให้เกิดความสับสน และเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลภายในองค์กร
แผนระยะยาวที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะทำให้เกิดประโยชน์  ดังต่อไปนี้
ส่วนสำคัญของการวางแผนระยะยาว  คือ  การกำหนดโครงสร้างของระบบสารสนเทศทั้งหน่วยงาน  หรือองค์กร โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์  กลยุทธ์  และนโยบาย
 การวางแผนระยะสั้น
               หรือแผนงานประยุกต์โดยใช้เวลาประมาณ  1-2  ปี โดยการนำแผนระยะยาวที่ผ่านการอนุมัติแล้วมาตั้งเป็นแนวทางและขยายรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ  ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับด้านการดำเนินการ  ด้านการจัดงบประมาณ  ด้านการบุคลากร และตารางเวลาที่แน่ชัด    โดยที่เนื้อหาของแผนระยะสั้นนี้จะต้องมีเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
               1.  วัตถุประสงค์ด้านบริการสารสนเทศ   เกี่ยวกับทรัพยากรและงบประมาณ  ตลอดจนการจัดการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์  และซอฟต์แวร์
               2.  แผนการพัฒนาปรับปรุงและดูแลระบบ  เป็นการนำแผนระบบงานแต่ละระบบมาอธิบายขยายความในรายละเอียด  โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  ทรัพยากร  และตารางเวลา
               3.   แผนการปฏิบัติ  อธิบายเนื้องานและปริมาณงานต่าง ๆ  ที่จะต้องปฏิบัติ  เช่น  การบันทึกข้อมูล  การเดินเครื่องคอมพิวเตอร์  การควบคุมคุณภาพ
               4.  แผนสนับสนุนด้านเทคนิค   อธิบายกิจการและทรัพยากรต่าง ๆ  ที่จะต้องใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสารสนเทศ  การติดตั้งเครื่องมือ    การติดตั้งซอฟต์แวร์
               5.  แผนอัตรากำลัง  อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงอัตรากำลังคน   การจัดอัตรากำลังในแต่ละโครงการ  การจัดรูปแบบงานต่าง ๆ  ในแต่ละโครงการ
               6.  แผนการฝึกอบรม  อธิบายถึงขั้นตอน  และรายละเอียดการจัดการฝคกอบรมให้กับพนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
               7.  แผนการเงิน   เป็นการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณ  และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  ในการดำเนินงานตามแผน
เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนจัดการสารสนเทศ
               เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนสารสนเทศ  มีดังนี้
1.      Delphi  Technique
2.      Value-Added  Chain
3.      Critical – Success  Factors
4.      Gantt  Chart
5.      PERT/CPM
6.      WBS (Work  Breakdown  Structure)
7.      Risk  Analysis  and  Management
8.      Brain  Mapper
9.      Software  Package
 แมคลีน 
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/453860

บทที่ 11 เรื่องที่ 2 แบบจำลองธุรกิจและการวางแผน



แบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model)

o ความสำคัญของแบบจำลองทางธุรกิจ
เป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการในการจัดการอย่างมีกลยุทธ์เพื่อนำพาองค์กรกรให้ประสบความสำเร็จและมีผลประกอบการที่ดีได้
o ความหมายของแบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model)
หมายถึง วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้ นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
http://biscom.rc.ac.th/c10.pdf


1. Customer Segments กลุ่มของลูกค้า
เป็นการแบ่งกลุ่มของลูกค้า เพื่อหาข้อมูลว่า ลูกค้าในแต่ละกลุ่มนั้น มีความต้องการอย่างไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร พฤติกรรมเป็นอย่างไร หรือ ปัญหาที่ลูกค้าพบคืออะไร เป็นต้น
2. Value Proposition การนำเสนอคุณค่า
คือ สินค้า และ บริการ ที่มูลค่าเพิ่มที่ใส่เข้าไปในสินค้า หรือ บริการ แล้วทำให้ตำแหน่งของสินค้าและบริการของเรา อยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าสินค้าอื่นๆ ทั่วๆ ไป หรือ ที่อยู่ในท้องตลาด
3. Channels ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายก็มี หรือบางคน ก็ใช้เป็น Logistics ก็มี บางคนการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการตลาด จะมองจุดนี้เป็นช่องทางการจัดจำหน่าย บางคนการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการจัดการ ก็จะมองจุดนี้เป็น Logistics ก็มี
4. Customer Relationships ความสัมพันธ์กับลูกค้า
เมื่อเราจะกำหนด Customer Relationships ในจุดนี้ ต้องมองในมุมของ ลูกค้าเป็นหลัก เพราะถ้ามองในมุมของเจ้าของสินค้า ความคลาดเคลื่อนอาจจะมีมากด้วย
ในการวางแผนกลยุทธ์ทาง ด้านการตลาด ในเรื่องของ Customer Relationships ค่อนข้างมีความสำคัญ เพราะเป็นตัวบ่งบอกว่า ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่ หรือ ลูกค้าจะบอกต่อให้เพื่อนๆใช้สินค้านี้หรือไม่
5. Revenue Streams ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
ทางเข้าของรายได้ หลายๆสาย และการที่รายได้เข้ามาเป็นสาย นั่นหมายถึง ความมั่นคงทางการเงินที่มากขึ้น
6. Key Partners คู่ค้าดำเนินธุรกิจที่สำคัญ
หมายถึง บริษัทฯ อื่น ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของเรา หรือ สนับสนุนธุรกิจของเราให้ดำเนินไปอย่างปกติ หรือ ดำเนินไปได้ดีขึ้นจากปกติ เพื่อหากลยุทธ์จากข้อมูลต่างๆที่ป้อนเข้าไปในกล่องนี้
7. Key Activities กิจกรรมหลัก
เป็นกิจกรรมที่จะสนับสนุนให้ สินค้า และ บริการ มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หรือ เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่าง คู่ค้า-ดำเนินธุรกิจหลัก ว่า ควรมีกิจกรรมอย่างไรเพื่อให้ คู่ค้าสนับสนุนธุรกิจเราได้ดีมากยิ่งขึ้น
กิจกรรม อาจจะเป็นกิจกรรมที่ส่งผลให้ กลุ่มลูกค้า เกิดความพึงพอใจ หรือ เป็นกิจกรรมร่วมระหว่างองค์กรกับลูกค้าด้วยก็ได้ หรือ เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการขาย เป็นช่องทางการขายเพิ่มมากขึ้น หรือ ให้บริการได้ดีขึ้น ทั้งนี้ กิจกรรมที่จะดำเนินการ อาจจะแฝงด้วยผลกำไรอีกทางก็จะดีไม่น้อย บางครั้ง กิจกรรมนี้ ในทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการผลิต ก็จะหมายถึง การผลิต ด้วย
8. ทรัพยากรหลัก
เป็นวัตถุดิบ (Material) ที่ใช้ในการผลิตก็ได้ เพื่อให้สินค้าและบริการดีขึ้น หรือ จะเป็นสินค้าอื่นๆ ที่ซื้อมาเพื่อขายร่วมกับสินค้าก็ได้ ในการแผนผลิตภัณฑ์ ก็อาจจะกล่าวถึง Packaging ที่สนับสนุนให้การส่งสินค้าดีขึ้น บางครั้งก็จะกล่าวถึง Key Man ในช่องนี้ ทรัพยากรบุคคล เครื่องจักรการผลิต เหล่านี้เป็นต้น
9. Cost Structure โครงสร้างค่าใช้จ่าย
โครงสร้างค่าใช้จ่าย ดูจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนหรือ จากกล่อง 1-8 ทั้งนี้จะทำให้เห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นว่า มีจำนวนประมาณเท่าใด จุดใดเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือ น้อยอย่างไร และเป็นตัวบ่งชี้ว่า จะสามารถคุมค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม ณ จุดใด ซึ่ง กล่องที่ 9 โครงสร้างค่าใช้จ่าย และ กล่องที่ 5 กระแสรายได้ จะบ่งบอกถึง สถานะทางการเงินของธุรกิจ

ทีมา  http://y35.wikidot.com/business-model