วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 5 เรื่องที่ 1 ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย




บทนี้มีอะไรบ้าง ?
 6.1 การสื่อสารโทรคมนาคม
 6.2 องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม
 6.3  ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร
 6.4  ระบบเครือข่ายสื่อสาร
 6.5  รูปแบบการประมวลผลแบบกระจายเครือข่าย
 6.6  การใช้ประโยชน์จากการสื่อสารโทรคมนาคม
 6.7  อินเทอร์เน็ต
 6.8 ประเด็นทางการบริหารของการสื่อสารโทรคมนาคม
 6.9  สรุป
6.1 การสื่อสารคมนาคม
± โทรคมนาคม(Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
± ปัจจุบันการถ่ายทอดสัญญาณส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
6.2 องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม
± ระบบโทรคมนาคม(Telecommunications systems) คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง
6.2 องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม


6.2 องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม
± เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล
± เครื่องเทอร์มินัลสำหรับการรับหรือแสดงผลข้อมูล
± ช่องทางสื่อสาร
± อุปกรณ์สื่อสาร
± ซอฟต์แวร์สื่อสาร
ประเภทของสัญญาณ
± สัญญาณแอนะล็อก(analog signal)
± สัญญาณดิจิทัล(digital signal)
6.3  ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร
± ช่องสื่อสาร(communication channels) หมายถึง รูปแบบใดๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือข่ายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง
± สื่อต่างๆ ที่ใช้ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอ็กเซียล สายใยแก้วนำแสง สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณผ่านดาวเทียม และสัญญาณไร้สายแบบต่างๆ
สายคู่บิดเกลียว
± สายคู่บิดเกลียว(twisted-pair wire) เป็นสายสื่อสารที่เก่าแก่ที่สุดประกอบด้วยลวดสายทองแดงหนึ่งคู่บิดเข้าด้วยกัน
± ส่วนมากใช้เป็นสายโทรศัพท์สำหรับส่งสัญญาณแอนะล็อก แต่สามารถส่งสัญญาณดิจิทัลได้
± มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ
สายโคแอ็กเซียล
± สายโคแอ็กเซียล(coaxial cable) เป็นสายลวดทองแดงขนาดใหญ่มีฉนวนหุ้มหนากว่าปกติ ทำให้ถ่ายทอดสัญญาณได้สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว
สายใยแก้วนำแสง
± สายใยแก้วนำแสง(fiber-optic cable) ประกอบด้วยสายทำด้วยใยแก้หรือไฟเบอร์ขนาดเล็กมากมีฉนวนหุ้ม ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นจังหวะกระพริบของแสงเพื่อส่งไปตามสายที่มีความถี่ในการส่งสูงมาก
± ส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก น้ำหนักเบา ทนทาน แต่ราคาสูง
การสื่อสารไร้สาย
การสื่อสารไร้สาย(wireless transmission) หมายถึงการส่งสัญญาณผ่านอากาศโดยไม่ต้องใช้สื่อใดๆ  ได้แก่การใช้สัญญาณไมโครเวฟ การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม การใช้วิทยุติดตามตัว การใช้โทรศัพท์เซลล์ลูล่าร์หรือโทรศัพท์มือถือ
ระบบไมโครเวฟ(Microwave)
± ส่งสัญญาณที่เป็นคลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านชั้นบรรยากาศ เหมาะสำหรับการสื่อสารแบบจุดต่อจุด
± ส่งข้อมูลจำนวนมากจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีปลายทาง ผ่านระยะทางไกลๆ โดยสัญญาณไมโครเวฟเดินทางเป็นเส้นตรงซึ่งส่งได้ไกลต่อจุดหนึ่งๆ ประมาณ 40-48 กิโลเมตร
ความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล
± ปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านช่องสื่อสารใดๆ มีหน่วยวัดเป็น บิตต่อวินาที(bits per second : bps)
± ช่วงคลื่นสัญญาณที่รวมกันอยู่ในช่องสื่อสารหนึ่งช่อง เรียกว่า ความกว้างของช่องสื่อสาร(bandwidth) ช่วงคลื่นที่กว้างมากหมายถึงช่องสัญญาณที่กว้างมาก สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว
± มัลติเพล็กเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การใช้สื่อหรือช่องสื่อสารขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6.4 ระบบเครือข่ายสื่อสาร
Topology หมายถึงโครงสร้างของเครือข่าย แบ่งออกเป็น
± ระบบเครือข่ายดาว
± ระบบเครือข่ายบัส
± ระบบเครือข่ายวงแหวน
ระบบเครือข่ายแบบดาว(star topology)
± ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(host computer) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และอุปกรณ์อื่นๆ เหมาะสำหรับงานที่ประมวลผลที่ศูนย์กลาง และมีบางส่วนที่ประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้งาน
± เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะควบคุมระบบสื่อสารทั้งหมด






Star Topology

ระบบเครือข่ายแบบบัส(bus topology)
± ระบบบัสเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดด้วยสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว สัญญาณจะถูกส่งออกมาในลักษณะกระจาย(broadcast) ซึ่งจะถูกส่งออกไปในสายสัญญาณถึงอุปกรณ์ทุกตัว
± ไม่มีอุปกรณ์ใดควบคุมระบบเลย มีข้อเสียคือถ้ามีอุปกรณ์จำนวนมากในเครือข่ายจะทำให้ระบบช้าลงมากเพราะจะเกิดการชนกันของข้อมูล(collision)

Bus Topology

ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน(ring topology)
± มีลักษณะคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบบัส คือไม่มีอุปกรณ์ตัวใดควบคุม
± ความล้มเหลวของอุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่มีผลกระทบกับอุปกรณ์ที่เหลืออยู่
± อุปกรณ์แต่ละตัวสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นได้
± มีลักษณะการต่อเป็นวงกลม ข้อมูลในสายจะถูกส่งผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวต่อๆ กันเป็นวงกลม




Ring Topology

PBX-- LAN--WAN
± PBX(Private Branch Exchange) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับจัดการบริหารการเชื่อมต่อวงจรโทรศัพท์จากสายนอกเข้ากับสายโทรศัพท์ภายในองค์กรอย่างอัตโนมัติ
± ระบบเครือข่ายเฉพาะที่(Local Area Network:LAN)เป็นระบบเครือข่ายบริเวณไม่กว้างมากนัก เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์ต่อพ่วง และอุปกรณ์สื่อสารเข้าด้วยกันโดยมีช่องทางสื่อสารเป็นของตนเอง มีซอฟต์แวร์เครือข่ายเป็นของตนเองเฉพาะเรียกว่า NOS(Network Operating System)
± ระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง(Wide Area Network:WAN) เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างขวางมาก เช่นการเชื่อมต่อระบบระหว่างสาขาของธนาคาร เป็นต้น
บริการอื่นบนระบบเครือข่าย
± Package Switching
± Frame Relay
± Integrated Services Digital Network : ISDN
± DSL
Package Switching
± การแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็กๆ มีขนาดเท่ากันทั้งหมดเรียกว่า packet  แต่ละแพ็กเก็ตจะมีข้อมูลอยู่ และถูกส่งออกไปหลายๆ เส้นทางภายในอินเทอร์เน็ตจนกว่าจะถึงปลายทาง เมื่อถึงปลายทางแล้วจะมีซอฟต์แวร์ในการรวมแพ็กเก็ตต่างๆ เข้าด้วยกันเหมือนข้อมูลก่อนส่งทุกประการ

Frame Relay
± เป็นบริการที่ใช้งานระบบเครือข่ายร่วมกันแบบหนึ่งที่มีความเร็วในการทำงานสูง  มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าระบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ ส่วนมากมักจะใช้ร่วมกับสายใยแก้วนำแสง
± ระบบนี้จัดข้อมูลเป็นขนาดเล็กๆ คล้ายแพ็กเก็ตแต่ไม่มีข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบขณะที่ส่งและแก้ไขข้อผิดพลาด
Integrated Services Digital Network : ISDN
± มาตรฐานใหม่สำหรับการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่รวมให้บริการทั้ง เสียง ข้อมูล กราฟิก และวิดีโอ ในสายโทรศัพท์เดียงคู่สายเดียว
± ระดับพื้นฐานสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 128 kbps
DSL
± ระบบดีเอสแอล(Digital Subscriber Line : DSL) สามารถใช้สายโทรศัพท์ทั่วไปสำหรับการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ ได้มีหลายประเภท เช่น
± ADSL
± SDSL
เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
± จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
± กรุ๊ปแวร์(groupware)
± วอยซ์เมลล์(voice mail)
± โทรสาร
± ระบบให้บริการข้อมูลดิจิตอล(digital information services)
± การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์(videoconference)
± ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีดีไอ(electronic data interchange : EDI)
ระบบเครือข่ายองค์กรและการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย
± ระบบการประมวลผลแบบ client/server system
± Mobile user
± PDA
± การใช้ระบบเครือข่ายองค์กร(enterprise network) และการเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่าย(internetwork) ช่วยให้การส่งข้อมูลระหว่างองค์กรต่างๆ ง่ายดายขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงระบบเครือข่ายขนาดเล็กเข้าด้วยกันอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร




รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับระบบเครือข่าย
± ใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
± โครงสร้างของ TCP/IP แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
Ø โปรแกรมประยุกต์
Ø ทีซีพี
Ø ไอพี
Ø Network Interface
Ø Physical Net
Ø  
TCP/IP Protocol



บลูทูธ(Bluetooth)
± บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารให้ความสนใจในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารที่มีขนาดเล็ก ความเร็วสูง ไร้สาย สำหรับสถานที่ทำงาน สถานศึกษา และบ้านพักอาศัยทั่วไป
± บลูทูธเป็นมาตรฐานในการสื่อสารแบบไร้สายระหว่างเครื่องโทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มือถือที่มีระยะทางห่างกันประมาณ 100  เมตรจากสถานีหลัก
อินเทอร์เน็ต(Internet)
± เป็นระบบที่เชื่อมโยงเครือข่ายขนาดต่างๆ เข้าด้วยกัน มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กรและระหว่างองค์กรที่อยู่ห่างไกลกันเป็นพันๆ ไมล์ได้ 
± อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเทคโนโลยีหลักในการสร้างระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่สนับสนุนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และองค์กรดิจิตอล
± ปัจจุบันบุคคลทั่วไปมักจะใช้บริการไอเอสพี(Internet Service Provider : ISP) เพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
± ระบบอินเทอร์เน็ตมีรากฐานมาจากระบบรับ-ให้บริการ(Client/Server Technology)
± ผู้ใช้บริการสามารถใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(web browser) เพื่อเรียกดูเว็บเพจ(web pages) และสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเอง
± เซิอร์ฟเวอร์(server) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล ในองค์กรหนึ่งๆ อาจมีเครื่องเซิอร์ฟเวอร์มากกว่า 1 เครื่องก็ได้
±  


บริการบนอินเทอร์เน็ต
ชื่อบริการ
งานที่ให้บริการ
อีเมลล์
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
Usenet
กลุ่มสนทนาและกระดานอิเล็กทรอนิกส์
LISTSERVs
กลุ่มสนทนาและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะกลุ่ม
Chatting
การสนทนาผ่านเน็ต
Telnet
การเข้าไปใช้บริการในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น
FTP
การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
Gopher
การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
WWW
การท่องไปในอินเทอร์เน็ตโดยใช้ไฮเปอร์ลิงค์

เครือข่าย WWW
± เครือข่าย WWW มีโครงสร้างแบบ client/server architecture ให้บริการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้
± มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกที่น่าสนใจ และใช้งานง่าย
± ใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล(Hypertext Markup Language : HTML) ในการเชื่อมโยงข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ
± Homepage เป็นเว็บเพจหลักขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยส่วนใหญ่จะนำเสนอข้อมูลที่องค์กรนั้นๆ ต้องการนำเสนอถึงผู้เข้าชม 
± โฮมเพจจะเป็นประตูบ้านที่จะนำไปสู่เว็บเพจ(web pages)อื่นๆ ที่จะเก็บไว้ในเว็บไซต์(web site) ซึ่งจะมีผู้ดูแลคือ เว็บมาสเตอร์(web master)
± ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ที่อยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า Uniform Resource Locator (URL)
± http ย่อมาจาก hypertext transport protocol เป็นโพรโทคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลเว็บเพจ
การสืบค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายเว็บ
± Search engine เป็นเว็บไซต์ที่มีซอฟต์แวร์พิเศษที่ค้นหาเว็บไซต์ทีละแห่งหรือทีละกลุ่มเพื่อให้ตรงกับข้อกำหนด ตัวอย่างเช่น lycos, Altavista, go.com, google
± เว็บไซต์บางแห่งให้บริการสืบค้นจาก search engine ต่างๆ หลายๆ แห่งซึ่งจะต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการค้นหาเฉพาะ เว็บไซต์เหล่านั้นได้แก่ spiders, bots, และ web crawlers
± Shopping bot เป็นโปรแกรมประเภท agents ที่ออกแบบมาช่วยเหลือผู้ที่ต้องการจะสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต เมื่อกำหนดคุณลักษณะสินค้าที่ต้องการแล้วโปรแกรมเหล่านี้จะทำหน้าที่ค้นหา เปรียบเทียบ แยกประเภท และสรุปรายการสินค้าหรือบริการให้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างโปรแกรมเหล่านี้ได้แก่
± MySimon, BestWebBuys.com, Metaprices.com, AuctionBot
อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต
± เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพที่ดีมาก ดังนั้นจึงมีผู้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในองค์กร จึงเรียกการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้ในองค์กรนี้ว่า ระบบอินทราเน็ต(intranet)
± อินทราเน็ต จึงเป็นระบบเครือข่ายภายในที่สามารถให้บริการได้ในทุกส่วนขององค์กร โดยใช้โครงข่ายแบบเดิมผนวกเข้ากับมาตรฐานการเชื่อมโยงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

Intranet
± ระบบอินทราเน็ตเป็นระบบปิด ที่ไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้งานได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นจึงมีการติดตั้งไฟร์วอลล์(Firewall) ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบภายในองค์กร
± ไฟร์วอลล์ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการกั้นข้อมูลที่ไหลเข้าออกองค์กรโดยมีการกลั่นกรองก่อนเสมอ
± Extranet หมายถึงระบบอินทราเน็ตที่เปิดกว้างไปสู่ระบบเครือข่ายภายนอก

Extranet

ระบบเว็บไร้สาย(wireless web)
± ระบบเว็บไร้สายช่วยให้ผู้ที่ใช้อุปกรสื่อสารไร้สายสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้ในทุกสถานที่ที่ต้องการ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้หลายประเภท และทำให้เกิดบริการชนิดใหม่ที่เรียกว่า M-commerce
M-commerce
บริการบน m-commerce
การประยุกต์
บริการเกี่ยวกับข่าวสาร(information-based)
ให้บริการข่าวสารทั่วไป อีเมลล์ การค้นหาสถานบริการน้ำมัน โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร โดยใช้โทรศัพท์มือถือ หรือพีดีเอ
บริการเกี่ยวกับรายการทำงาน(transaction-based)
ให้บริการทำธุรกรรม เช่น การซื้อขายหุ้น ซื้อบัตรชมคอนเสิร์ต ค้นหาราคาสินค้า โอนเงิน
บริการส่วนบุคคล(Personalized services)
ให้บริการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

มาตรฐานสำหรับระบบเว็บไร้สาย
± WAP (Wireless Application Protocol)
± I-mode


WAP
± เป็นระบบที่ประกอบด้วยโพรโทคอลและเทคโนโลยีที่ช่วยให้เซลล์สื่อสารไร้สายที่มีจอแสดงผลขนาดเล็กมามีการเชื่อมต่อผ่านช่องสัญญาณขนาดเล็ก และมีการเรียกใช้ข้อมูลและบริการจากฐานข้อมูลบนเว็บที่มีปริมาณไม่มากนัก
± ใช้ภาษาควบคุมที่เรียกว่า (Wireless Markup Language : WML) ซึ่งมีพื้นฐานมากจากภาษา XML
I-mode
± พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของประเทศญี่ปุ่น
± ใช้ภาษา HTML อย่างย่อๆ จึงง่ายต่อการใช้งานโดยทั่วไป
± สื่อสารโดยใช้ระบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ สามารถ online ได้ตลอดเวลา และแสดงผลได้หลายสีอีกด้วย
ประโยชน์
± การเชื่อมต่อไปยังระบบเครือข่ายทั่วโลก
± ลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร
± ลดค่าใช้จ่ายในการทำรายการธุรกรรม
± ลดค่าใช้จ่ายในการตั้งตัวแทนองค์กร
± ระบบมีความยืดหยุ่นสูงเหมาะแก่การใช้งาน
± กระจายข่าวสารความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีที่สนับสนุนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
± ซอฟต์แวร์สำหรับเซิอร์ฟเวอร์ และเซิอร์ฟเวอร์
± ซอฟต์แวร์สำหรับการติดตามลูกค้าและการปรับแต่งให้เหมาะกับลูกค้า
± ซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลในเว็บ
± ซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บ
± บริการเว็บโฮสติ้ง
สรุป
     การวางแผนสำหรับโครงสร้างระบบเครือข่ายภายในองค์กรคือภารกิจหลักของการบริหารงานผู้บริหารจะต้องพิจารณาการนำระบบเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรและพิจารณาความเหมาะสมในการเลือกใช้งาน
     การวางแผนควรพิจารณาถึงการควบคุมจากส่วนกลาง ตลอดจนถึงการใช้สารสนเทศระหว่างองค์กร
     เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยให้การเชื่อมโยงระบบโครงสร้างภายในองค์กรและการกำเนิดขององค์กรดิจิตอล
     มาตรฐานทีซีพีไอพีและอื่นๆ ช่วยให้การสืบค้นข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้แก่ เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เทคโนโลยีไร้สาย รวมทั้งการเชื่อมโยง การขยายขีดความสามารถ ความน่าเชื่อถือและการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการประยุกต์ใช้งานจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น